Mixer มิกเซอร์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
บทความนี้จะเป็นเรื่องใกล้ตัวคนทำงานเกี่ยวกับเสียงอย่างเราๆสักหน่อยนะครับ ถ้าเปรียบเครื่องดนตรีคืออุปกรณ์ทำมาหากินหลักของนักดนตรี มิกเซอร์ก็คงเป็บแบบนั้นเหมือนกันสำหรับคนทำเสียง เนื้อหาออกจะเบสิกไปสักหน่อย ก็ถือซะว่ามาทวนๆไปด้วยกันนะครับ
มิกเซอร์ คืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่รวมเอาสัญญาณเสียงอินพุตที่มีลักษณะแตกต่างกันมาไว้ด้วยกัน เช่น สัญญาณจากไมโครโฟน สัญญาณจากเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ หรือแม้กระทั่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นไฟล์เสียงอื่นๆ สามารถจัดการกับระดับโทน และ/หรือไดนามิกของสัญญาณเสียงก่อนที่จะส่งต่อไปยังระบบขยายเสียง หรือการบันทึกเสียงต่างๆ ต่อไป มิกเซอร์ เป็นหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการใช้งานต่างๆ เช่น ในสตูดิโอ ระบบเสียงประกาศ รายการโทรทัศน์ ระบบเสียงห้องประชุม และงาน Live Sound หรืองานแสดงดนตรีสด โดยมิกเซอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆก็ คือ
1.มิกเซอร์แบบอนาล็อก Analog Mixing consoles รองรับเฉพาะสัญญาณอินพุตแบบอนาล็อก
2.มิกเซอร์แบบดิจิตอล Digital Mixing consoles รองรับได้ทั้งสัญญาณอนาล็อกและดิจิตอลอินพุต
1.Analog Mixing consoles หรือ มิกเซอร์แบบอนาล็อก
เป็น Mixer ที่รองรับสัญญาณแบบ Analog เช่น รับสัญญาณจากไมโครโฟน หรือเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้น ในการใช้งานมิกเซอร์แบบอนาล็อก สามารถ insert เพื่อเชื่อมต่อโปรเซสเซอร์เอฟเฟกต์ภายนอกได้ ทั้ง Equalizer, Compressor และ Crossover ได้ จุดเด่น คือใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ปรับใช้งานได้รวดเร็ว ให้โทนเสียงในแบบฉบับอนาล็อกคืออุ่นหนา ปัจจุบันมิกเซอร์อนาล็อกรุ่นใหม่ๆ สามารถใช้งานเป็นอินเทอร์เฟซ และสามารถบันทึกเสียงได้
เราจะพบมิกเซอร์อนาล็อกได้ในการใช้งานทั่วไปมีตั้งแต่รุ่นเล็กมีจำนวนแชลแนลน้อยๆไปจนถึงรุ่นใหญ่ที่มีแชลแนลมากๆ แต่ปัจจุบันเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องขนาดและความสะดวกในการใช้งาน และการมาถึงของมิกเซอร์แบบDigiutal ทำให้มิกเซอร์แบบอนาล็อกขนาดใหญ่ได้รับความนิยมน้อยลง เหลือมิกเซอร์แบบอนาล็อกขนาดเล็กที่ยังคงได้รับความนิยมในลักษณะของการใช้เป็นซับมิกซ์สำหรับมือกลอง มือคีย์บอร์ด หรือซับมิกซ์สำหรับเปิดซาวด์ต่างๆในงานลักษณะอีเวนท์ต่างๆแทน
2. Digital Mixing consolesหรือ มิกเซอร์แบบดิจิตอล
ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดต่างๆของมิกซ์แบบอนาล็อกทั้งเรื่องของขนาดและความวุ่นวายในการinsert เพื่อเชื่อมต่อโปรเซสเซอร์เอฟเฟกต์ภายนอก มิกเซอร์แบบดิจิตอลสะดวกในการใช้งานมากขึ้น สามารถรวมเอาอุปกรณ์ด้านปรับแต่งสัญญาณเสียงต่างๆทั้งฟังก์ชั่น กราฟฟิคอีคิว พาราเมตริกอีคิว คอมเพรสเซอร์ เกท มัลติเอฟเฟค รวมอยู่ในเครื่องเดียว ทำให้ลดขั้นตอนการ วายริ่ง สายสัญญาณลงได้ มิกเซอร์ดิจิตอลสามารถรองรับสัญญาณได้ทั้งแบบ Digital และ Analog สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเพื่อควบคุมมิกเซอร์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต แอนดรอย ดิจิตอล มิกเซอร์ดิจิตอลส่วนใหญ่สามารถใช้เป็นออดิโออินเทอเฟส เพื่อรองรับการบันทึกเสียงได้ และยังสามารถบันทึกค่าต่างๆ และเรียกมา ใช้งานได้อีกด้วย ในปัจจุบันมิกเซอร์ดิจิตอล นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายตั้งแต่งานขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ งานเปิดเพลงธรรมดา ไปจนถึงงานระดับคอนเสิร์ต
จริงๆมิกซ์เซอร์ทั้งสองประเภทก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และยังถูกใช้งานอยู่เสมอตามลักษณะที่เหมาะสม ในขณะที่มิกเซอร์ดิจิตอลสร้างความสะดวกให้มากมายกับผู้ใช้งาน แต่ซับมิกซ์ก็ยังคงจำเป็นสำหรับง่านขนาดเล็กๆ งานอีเวนท์เปิดเพลง หรือนักดนตรีที่อยู่บนเวทีที่ต้องการควบคุมเสียง หรือโทนบางอย่างด้วยตัวเองนั่นเองครับ แล้วพบกับกันในบทความต่อๆไปครับ