ส่องคุณสมบัติของไมโครโฟนจ่อกระเดื่อง Shure Beta 91A และ Shure Beta 52A
บทความนี้แอดมินจะพาไปส่องคุณสมบัติของไมโครโฟนจ่อกระเดื่องยอดฮิตของแบรนด์ Shure ทั้ง 2 รุ่น ที่เรามักพบบ่อยๆในงาน Live Sound คือ Beta 91A และ Beta 52A ไว้เป็นแนวทางสำหรับพี่ๆน้องๆ ที่อาจจะกำลังวางแผนจะหาไมค์จ่อกระเดื่องสักตัวมาใช้งาน มาติดตามกันเลยครับ
SHURE BETA 91A
Beta 91A เป็นไมโครโฟนประเภทคอนเดนเซอร์ ดีไซน์ที่ปราณีต ที่มาพร้อมกับ Preamplifier ในตัว Beta 91A มี Polar Pattern การรับเสียงแบบ Half Cardioid ที่ต่างจาก Cardioid แบบปกติ คือในรัศมี 60 องศาจะมีการรับเสียงที่สม่ำเสมอ ลดเสียงรบกวนต่าง ๆ ที่อยู่นอกรัศมีจะเข้ามาในไมค์ได้อย่างดี Beta 91A ออกแบบสำหรับใช้เป็นไมค์กระเดื่องโดยเฉพาะ มาพร้อมกับช่วง Dynamic Range ที่กว้าง ตั้งแต่ 50Hz จนถึง 20kHz ทนทานต่อความดังของเสียง (SPL) ที่มีค่า Attack และความ Punch ได้ในระดับสูง มีพอร์ตเชื่อต่อแบบ XLR และมีสวิตช์ “Low-mid scoop” สำหรับเพิ่มความชัดเจนของเสียง การใช้งานทั่วไปจะใช้สำหรับเป็น ไมค์กระเดื่อง และยังสามารถใช้กับเปียโนในคีย์ย่านเสียงต่ำได้อีกด้วย อีกทั้ง Beta 91A อีกจุดเด่นคือการออกแบบการใช้งานที่สะดวกยิ่งขึ้นคือ ไม่ต้องใช้ขาไมค์ สามารถวางตัวไมค์ไว้ใกล้กับจุดที่ต้องการรับเสียงได้เลย
SHURE BETA 52A
Beta 52A เป็นไมโครโฟนประเภทไดนามิก ที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพระดับสตูดิโอ แม้การใช้งานในระดับความดังของเสียง (SPL) ที่สูง มี Polar Pattern การรับเสียงแบบ Super Cardioid ที่ให้เสียงที่คมชัด และจัดการกับเสียงรบกวนรอบข้างได้ดี ตอบสนองความถี่ได้ดีในช่วง 20Hz ถึง 10kHz พร้อมกับการบูสต์ย่าน 4kHz เพื่อเพิ่มความชัดเจนของเสียง และมี Advanced Pneumatic Shock Mount ที่ช่วยลดเสียงรบกวนต่าง ๆ ที่เกิดจากการสั่นสะเทือน และ Neodymium Magnet สำหรับ Output ที่มีอัตราส่วนสัญญาณ ต่อสัญญาณรบกวนสูง Beta 52A มีลักษณะเป็นแคปซูน ที่มีตะแกรงเหล็กที่หัวไมโครโฟนที่แข็งแรงและทนทานต่อการสึกหรอ มีพอร์ตเชื่อมต่อสัญญาณแบบ XLR ออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับขา Boom เพื่อความสะดวกในการจ่อใกล้จุดกำเนิดเสียง ดังนั้น Beta 52A จึงสามารถใช้งานได้ทั้งเป็นไมค์จ่อกระเดื่อง จ่อเครื่องดนตรีโทนต่ำ เช่น อะคูสติกเบสได้ จึงยังสามารถใช้เป็นไมค์จ่อแอมป์เบสได้อีกด้วย
บทสรุป
ไมโครโฟนทั้งสองรุ่นต่างก็เป็นไมโครโฟนสำหรับจ่อกระเดื่องที่ใช้งานได้ดีทั้งสองรุ่น บ่อยๆที่เรามักพบว่าในบางคอนเสิร์ตจะมีการใช้ทั้งสองรุ่นพร้อมกันด้วยซ้ำ เช่น Beta 52A ใช่จ่อด้านนอก(kick out) Beta 91A ใช้วางด้านใน(kick in) ซึ่งไมโครโฟนทั้งสองรุ่นแม้จะจ่อกระเดื่องได้ทั้งคู่ แต่ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างบ้างพอสมควรจากการออกแบบเพื่อการใช้งานต่างๆ เช่น Polar Patternที่ต่างกัน การตอบสนองความถี่ที่ต่างกัน ใช้จ่อบนขาตั้ง หรือใช้วางใกล้แหล่งกำเนิดเสียง ดังนั้นผู้ที่จะซื้อหรือเลือกมาใช้งานก็จำต้องวางแผนให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานเป็นหลัก ใช้ตัวเพียงตัวเดียว หรือจะใช้สองตัวพร้อมกันแบบที่นิยมในคอนเสิร์ตต่างๆก็สุดแท้แต่ผู้ใช้งานเลยครับ ไว้พบกันบทความต่อไปครับ