ทำความรู้จักประเภทของขาไมโครโฟนในงาน Live Sound
ในแสดงดนตรีสดหรืองาน Live Sound นั้น ถือได้ว่าอุปกรณ์ประเภทขาไมโครโฟน มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสำหรับนักร้อง หรือสำหรับการจับไมโครโฟนเพื่อจ่อเครื่องดนตรี สำหรับซับพลายเออร์ผู้ให้บริการให้เช่าเครื่องเสียง ขาไมโครโฟนมักเป็นหนึ่งในรายการที่ต้องจัดเตรียมเสมอเมื่อต้องออกงานไม่ว่าจะเป็นงานพูดเปิดงาน งาน Live Sound และยังมักเป็นหนึ่งในไรเดอร์ลิสต์(รายการอุปกรณ์ที่ศิลปินรีเควส) เมื่อต้องรับงานคอนเสิร์ตต่างๆ บทความนี้เบาสมองสักหน่อย แอดมินจะพาไปรู้จักขาตั้งไมโครโฟนประเภทต่างๆในงานแสดงดนตรีสด หรือ Live Sound กันครับ
1.Standard Stand ขาตั้งไมค์แบบมาตรฐาน
ขาตั้งไมโครโฟนชนิดนี้จะถูกออกแบบมาอย่างเรียบง่ายที่สุด ลักษณะก็คือตัวขาไมค์มีลักษณะตั้งตรง 2 ท่อน สามารถยืดสูงหรือหดให้สั้นลงได้ ความมั่นคงก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะของฐานไมโครโฟน โดยฐานของไมโครโฟนชนิดนี้จะมีทั้งแบบที่เป็นขาฐานกลม ที่เป็นฐานที่โค้งมนเป็นรูปโดมทำจากโลหะ และแบบที่เป็นขาตั้งกล้อง ที่มาพร้อมกับฐานของไมโครโฟนที่มีลักษณะเป็นขาสามขาคอยรับน้ำหนัก เหมาะสำหรับจับใช้จับไมโครโฟนนักร้องนำ เราจะพบบ่อยในวงดนตรีที่นักร้องเป็นยืนร้องอย่างเดียว หรือศิลปินเดี่ยว เพราะด้วยลักษณะทางกายภาพที่ยืดตรงเพียงอย่างเดียว ไม่เหมาะกับนักดนตรีที่เล่นดนตรีประกอบกับการร้องไปด้วย
2.Boom Stand ขาตั้งไมค์แบบบูม
ขาไมค์แบบนี้จะมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง มีลักษณะใกล้เคียงกับขาตั้งแบบมาตรฐานแต่จะมีอาร์มต่อจากท่อนบนเพิ่มอีกหนึ่งท่อน สามารถปรับบูมอาร์มได้หลายมุม เพื่อมให้ได้องศาของไมโครโฟนที่เหมาะสมกับการใช้งานที่สุด เหมาะกับนักศิลปินหรือดนตรีที่เล่นเครื่องดนตรีและร้องเพลงไปด้วย ไม่ว่าจะยืนเล่นหรือนั่งเล่นบนเก้าอี้เป็นขาตั้งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในงานแสดงดนตรีสด หรืองาน Live Sound
3. Short boom Stand ขาตั้งไมค์แบบบูมสั้น
เป็นขาตั้งไมโครโฟนที่มีลักษณะทางกายเหมือนกับขาบูม แต่หากเปรียบกับขาบูมมาตรฐานแล้ว จะมีขนาดที่ย่อส่วนให้เล็กลง มีอาร์มที่สั้นและความสูงน้อยกว่าและกินพื้นที่ในการวางน้อยลง ออกแบบเพื่อใช้สำหรับใช้กับการจ่อตู้แอมป์กีตาร์ต่างๆ รวมไปถึงการใช้เพื่อจ่อเครื่องดนตรีต่างๆ หรือจ่อไมค์กลอง เช่น ไมค์จ่อสแนร์ ไมค์จ่อเบสเบสดรัม หรือไมค์จ่อเครื่องเป่า เป็นต้น
4. Overhead Stand ขาตั้งไมค์แบบบูมสูงเหนือศีรษะ
เป็นขาตั้งไมค์ที่มีลักษณะทางกายภาพคล้ายกับขาตั้งไมค์บูมมาตรฐาน แต่มีความแข็งแรงมากว่า มีความยาวที่มากกว่า ออกแบบมาเพื่อให้ยึดกับไมโครโฟนที่สูงเหนือศีรษะ เช่น ไมค์จ่อจ่อรูมในวงเครื่องสาย หรือไมค์โอเวอร์เฮด สำหรับกลองชุด ใช้ยึดจับไมโครโฟนได้แทบทุกชนิด แม้กระทั่งไมโครโฟนคอนเดอร์ที่มีน้ำหนักมากๆ เนื่องจากตัวฐานของขาตั้งออกแบบให้รับน้ำหนักได้สูงนั่นเอง
5. Studio Booms ขาตั้งไมค์สตูดิโอบูม
เป็นขาตั้งไมโครโฟนชนิดนี้ เป็นขาตั้งรูปทรงแบบบูมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สามารถยืดได้สูงถึงได้สูงสุดระดับหกฟุตหรือมากกว่านั้น ด้วยน้ำหนักที่มากขาสตูดิโอบูมมาตรฐานจึงมักจะมีฐานล้อเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ออกแบบสำหรับการยกขึ้นสูงเหนือแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เก็บบรรยากาศคอนเสิร์ต วงโยธวาทิต วงประสานเสียง และวงออเคสตร้า เป็นต้น
เรื่องขาไมโครโฟนเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด แต่หากมีความเข้าใจและการเลือกใช้งานแต่ละชนิดให้เหมาะกับการใช้งาน ก็จะช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้นเยอะ รวมไปถึงช่วยให้งานความเรียบร้อยและมีความเป็นมืออาชีพได้ด้วยนะครับ ก็หวังว่าบทความจะมีประโยชน์กับพี่ๆน้องๆบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ไว้พบกันเรื่อยๆนะครับ